Loading

ดักดำ ดากดำ รูตะโกพนม, หมากค่อน (นครราชสีมา); กะละมัก (กาญจนบุรี – ราชบุรี); มะด้ามหมุ่ย, ดำ (ภาคเหนือ); มะตับหมาก (เชียงใหม่, ลำปาง); หนังดำหลังดำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ดักดำ ดากดำ รูตะโกพนม, หมากค่อน (นครราชสีมา); กะละมัก (กาญจนบุรี – ราชบุรี); มะด้ามหมุ่ย, ดำ (ภาคเหนือ); มะตับหมาก (เชียงใหม่, ลำปาง); หนังดำหลังดำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Diospyros castanea Fletcher
Ebenaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10 –15 เมตรต้นเล็กมักคดงอต้นโตค่อนข้างเปลาตรงเปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดสีเทาปนดำเปลือกในสีน้ำตาลกระพี้สีน้ำตาลอ่อนแก่นสีน้ำตาลเข้ม ใบใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่หรือรูปรีปลายใบแหลมแผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-8 เซนติเมตร ยาว 6-13 เซนติเมตร ดอกดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะผลผลกลมรีมีหลายเมล็ดผิวหนาแข็งเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มตอนใกล้โคนผลปลายผลเป็นติ่งหนามแหลมสั้นๆขั้วผลมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ

การกระจายพันธุ์        พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทย        พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นิเวศวิทยาทั่วไป        พบในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง

ช่วงการออกดอกและติดผล        มีนาคม ถึง สิงหาคม

การใช้ประโยชน์ในพื้นที่         ผลกินเป็นผลไม้สด

ส่วนที่นำมาศึกษา        ลำต้น

ศักยภาพทางเภสัชวิทยา        จากการศึกษาในส่วนที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์จากลำต้นของดากดำ พบว่า พืชชนิดนี้มีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์ ฟลาโวนอยด์ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ และอัลคาลอยด์ และยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วย  (EC50 = 13.62 มก./มล.) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ จึงมีความปลอดภัยในการนำมาบริโภคไม่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่ไม่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย แต่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย ไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรง และไม่สามารถเสริมการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันทั้งชนิดทีเซลล์และบีเซลล์ มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนองที่ความเข้มข้น £ 0.78 มก./มล., ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ Salmonella, Shigella และ V. cholera ที่ความเข้มข้น 12.5, 1.56 และ £ 0.78 มก./มล. ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลากมีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อรา อยู่ในช่วง 4-8 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 54.29 มก./มล.) สารสกัดจากใบและลำต้นของดากดำมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง (IC50 = 147.12 ±10 และ 112.35±18 มก./มล. ตามลำดับ) โดยพบว่าสารสกัดจากทั้งลำต้นและใบสามารถชักนำการตายของเซลล์มะเร็งตับแบบอะพอพโทซิส เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วันลักษณะทางพฤกษศาสตร์        ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10 –15 เมตรต้นเล็กมักคดงอต้นโตค่อนข้างเปลาตรงเปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดสีเทาปนดำเปลือกในสีน้ำตาลกระพี้สีน้ำตาลอ่อนแก่นสีน้ำตาลเข้ม ใบใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่หรือรูปรีปลายใบแหลมแผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-8 เซนติเมตร ยาว 6-13 เซนติเมตร ดอกดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะผลผลกลมรีมีหลายเมล็ดผิวหนาแข็งเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มตอนใกล้โคนผลปลายผลเป็นติ่งหนามแหลมสั้นๆขั้วผลมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ

การกระจายพันธุ์        พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทย        พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นิเวศวิทยาทั่วไป        พบในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง

ช่วงการออกดอกและติดผล        มีนาคม ถึง สิงหาคม

การใช้ประโยชน์ในพื้นที่         ผลกินเป็นผลไม้สด

ส่วนที่นำมาศึกษา        ลำต้น

ศักยภาพทางเภสัชวิทยา        จากการศึกษาในส่วนที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์จากลำต้นของดากดำ พบว่า พืชชนิดนี้มีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์ ฟลาโวนอยด์ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ และอัลคาลอยด์ และยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วย  (EC50 = 13.62 มก./มล.) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ จึงมีความปลอดภัยในการนำมาบริโภคไม่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่ไม่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย แต่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย ไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรง และไม่สามารถเสริมการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันทั้งชนิดทีเซลล์และบีเซลล์ มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนองที่ความเข้มข้น £ 0.78 มก./มล., ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ Salmonella, Shigella และ V. cholera ที่ความเข้มข้น 12.5, 1.56 และ £ 0.78 มก./มล. ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลากมีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อรา อยู่ในช่วง 4-8 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 54.29 มก./มล.) สารสกัดจากใบและลำต้นของดากดำมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง (IC50 = 147.12 ±10 และ 112.35±18 มก./มล. ตามลำดับ) โดยพบว่าสารสกัดจากทั้งลำต้นและใบสามารถชักนำการตายของเซลล์มะเร็งตับแบบอะพอพโทซิส เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน